หาค่า BMI (ดัชนีมวลกาย)
**ใส่ความสูง (Height) และน้ำหนัก (Weight) แล้วกดที่ Calculate**
BMI calculator
BMI
สูตรหาค่า BMI คือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]
น้อยกว่า 16
16-16.99
17-18.49
น้ำหนักน้อยระดับ 3
น้ำหนักน้อยระดับ 2
น้ำหนักน้อยระดับ 1
ผอม
(Underweight)
18.5-22.99
น้ำหนักปกติ
ผู้ชายสมส่วนที่ 22-23
ผู้หญิงสมส่วนที่ 19-20
23-24.99
น้ำหนักเกิน
ภาวะน้ำหนักเกิน
(Overweight)
25-29.99
30-39.99
มากกว่า 40
โรคอ้วนระดับ 1
โรคอ้วนระดับ 2
โรคอ้วนระดับ 3
โรคอ้วน (Obesity)
เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, ข้อเข่าเสื่อม, นิ่วในถุงน้ำดี, ตับอักเสบจากไขมันสะสม, เบาหวาน, ฯ
About BMI
Q1 : ค่า BMI ถูกสร้างมาเพื่ออะไร?
A : BMI เป็นค่าที่กำหนดขึ้นมาใช้ในทางการแพทย์ซึ่งการแปลผลจะมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อดัชนีมวลกายสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าที่จะใช้เพื่อประเมินรูปร่าง(Body shape)หรือความดึงดูดทางเพศ(Sex appeal or attractiveness)นะค่ะ นั่นคือ ผู้ชายที่ BMI > 18.5 kg/m2 หลายคนอาจจะมีรูปร่างผอมอยู่ (Skinny or thin body) หรือผู้หญิงที่ BMI > 21 kg/m2 อาจจะอวบๆ ท้วมๆ ดังนั้นถ้าคุณจะใช้ BMI เพื่อดูว่ารูปร่างสมส่วนหรือไม่ ขอแนะนำดังนี้ค่ะ
ผู้ชาย : รูปร่างจะดูมีกล้ามเนื้อ ได้สัดส่วน ควรมี BMI 22 – 23 kg/m2 (+/- 0.5 kg/m2)
ผู้หญิง : รูปร่างจะดูมีส่วนเว้าโค้ง ควรมี BMI 19 – 20 kg/m2 (+/- 0.5 kg/m2)ค่าดัชนีมวลกายเปรียบเหมือนการหาความหนาแน่นของร่างกาย โดยอาศัยหลักการว่าถ้ามีน้ำหนักตัวยิ่งมาก ค่าดัชนีมวลกายจะยิ่งสูงตามไปด้วย ซึ่งในคนอ้วนจะมีปริมาณไขมันสะสมตามร่างกายเกินมาตรฐาน ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ก็จะมากขึ้นตามไปด้วยในทางการแพทย์ ในทำนองกลับกันในผู้ที่ผอมจะมีปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกายจึงต่ำกว่าเกณฑ์ปรกติ ในผู้ที่ผอมอาจจะไม่ค่อยมีโรคภัยเบียดเบียน แต่ ภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะยังทำงานได้ไม่เท่ากับคนน้ำหนักปกติ และถ้าเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล ก็จะฟื้นตัวได้ช้ากว่า เพราะไขมันและกล้ามเนื้อน้อย
Q2 : ค่า BMI สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงของสุขภาพได้หรือไม่?
A : BMI สามารถนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพได้
- ความเสี่ยงทางสุขภาพสำหรับผู้ที่ผอม (Underweight)
หลายคนอาจจะมีสุขภาพแข็งแรง แต่หลายคนอาจจะผอมจากภาวะทุภโภชนการ การสูบบุหรี่เป็นประจำ การใช้สารเสพติดหรือการเจ็บป่วย คนผอมจึงมีโอกาสกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือกระดูกหักได้ง่าย ในคนผอมที่อายุมากขึ้น จะมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อระหว่าง การเจ็บป่วยอย่างรวดเร็ว เช่น โรคระบบทางเดินอาหารหรือโรคมะเร็ง ทำให้ฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยช้ากว่าผู้ที่น้ำหนักปกติ ผู้หญิงที่ผอมอาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ตั้งครรภ์ยาก มีโอกาสเป็นหมันสูงขึ้น และหากตั้งครรภ์ก็อาจแท้งหรือได้บุตรที่ไม่แข็งแรง ซึ่งการเพิ่มน้ำหนักให้เป็นปกติก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง - ความเสี่ยงทางสุขภาพสำหรับผู้ที่อ้วน (Overweight or Obesity)
ยิ่งมีไขมันส่วนเกินมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงต่อสุขภาพจะสูงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะโรคอ้วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ อาทิเช่น เบาหวานชนิดที่ 2, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดสมอง, เข่าเสื่อม, มะเร็งบางชนิด, นิ่วในไตหรือถุงน้ำดี, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, ภาวะแทรกซ้อนคณะตั้งครรภ์ หรือผ่าตัด . . . เพราะฉะนั้นคนอ้วนจึงมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ (ในอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากโรคที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนถึง 300,000 คน/ปี ซึ่งโรคอ้วนเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากเป็นอันที่ 2 ในกลุ่มโรคที่ป้องกันได้ รองจากการสูบบุหรี่) ซึ่งความเสี่ยงของโรคทั้งหมดด้านบน จะลดลงเมื่อลดน้ำหนักได้
- ความเสี่ยงทางสุขภาพสำหรับผู้ที่ผอม (Underweight)
Q3 : ค่า BMI สามารถประเมินภาวะทางโภชนาการได้หรือไม่?
A : สามารถประเมินภาวะทางโภชนาการได้
ผู้ที่ดัชนีมวลกาย “ต่ำกว่า 18.5 kg/m2” บ่งชี้ว่า ร่างกายมี “ภาวะทุพโภชนาการ” ร่วมด้วย ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า “Undernutrition”
ผู้ที่ดัชนีมวลกาย “มากกว่า 23 kg/m2” บ่งชี้ว่า ร่างกายมี “ภาวะโภชนาการเกิน” ร่วมด้วย ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า “Overnutrition”อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายก็ไม่สามารถนำมาประเมินได้ในกลุ่มเหล่านี้ คือ
– หญิงตั้งครรภ์ : น้ำหนักที่เกินมาไม่ได้เป็นน้ำหนักไขมันเพียงอย่างเดียว เป็นน้ำหนักเด็กร่วมด้วย แต่หลังคลอด สามารถประเมินค่าดัชนีมวลกายได้ตามปกติ – นักเพาะกายอาชีพ : เพราะ น้ำหนักที่เกินมาเป็นน้ำหนักกล้ามเนื้อ
– เด็กวัยกำลังโต (โดยเฉพาะอายุไม่เกิน 18 ปี ) : เพราะส่วนสูงยังไม่คงที่ ต้องใช้ตาราง BMI เทียบกับอายุ ส่วนสูงและเพศ
– ผู้ที่มีภาวะบวมน้ำ (volume overload) เช่น โรคหัวใจวาย โรคไตบางชนิด : น้ำหนักที่เกินมาเป็นน้ำ ไม่ใช่ไขมัน